การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี คือแนวทางที่คนวัยทำงานหลายคนเลือกใช้ในการวางแผนภาษี ซึ่งนอกจากจะช่วยให้จ่ายภาษีได้น้อยลงไปจนถึงการได้เงินภาษีคืนกลับมาแล้ว ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอีกด้วย ปัจจุบัน การลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีผ่าน ‘กองทุนรวม’ มีด้วยกันทั้งหมด 4 กองทุน ได้แก่
กองทุนใหม่ล่าสุดอย่าง Thai ESGX ซึ่งคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติอนุมัติมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืน (ESG) เพิ่มเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นไทย และเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุนที่ถือครอง LTF ไว้จนครบกำหนดให้ได้มีโอกาสในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
โดยนโยบายการลงทุนของ Thai ESGX จะคล้าย ๆ กับ Thai ESG คือต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ออกโดยผู้ออกหรือกิจการในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV แต่ Thai ESGX จะมีนโยบายการลงทุนเพิ่มเติม คือต้องลงทุนในหุ้นไทยกลุ่มความยั่งยืนใน SET หรือ mai ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV ด้วย ขณะที่เงินลงทุนส่วนอื่น ๆ เช่น เงินสดหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศ จะสามารถลงทุนได้ไม่เกิน 20% ของ NAV หากสรุปง่าย ๆ ประเภทสินทรัพย์ที่ Thai ESGX ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV จะประกอบด้วย
สำหรับปี 2568 กองทุน Thai ESGX จะเปิดขายและสับเปลี่ยนกองทุนเป็นระยะเวลา 2 เดือน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2568 ซึ่งผู้ที่ลงทุนใน Thai ESGX ภายในระยะเวลาดังกล่าว จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีใน 2 วงเงิน ได้แก่
วงเงินที่ 1 คือผู้ที่ลงทุนใน Thai ESGX ใหม่ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน
วงเงินที่ 2 คือผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่สับเปลี่ยนมายัง Thai ESGX โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 500,000 บาท ภายในระยะ 5 ปี นั่นก็คือ
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องสับเปลี่ยน LTF เดิมที่มีอยู่ทั้งหมด (ทุกกองทุน ทุก บลจ.) ณ วันที่ 11 มีนาคม 2568 ไปยัง Thai ESGX ในกรณีที่สับเปลี่ยนไม่ครบ จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กำหนด
สำหรับผู้ที่ลงทุนใน Thai ESGX ในปี 2568 เงินลงทุนจะไม่ถูกนับรวมกับเงินลงทุนใน Thai ESG ทำให้ผู้ที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่น ๆ จนเต็มเพดานแล้วได้รับวงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม
อีกหนึ่งข้อควรรู้ที่สำคัญสำหรับการลงทุนใน Thai ESGX คือผู้ลงทุนต้องถือครองหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่ส่งคำสั่งซื้อหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF (นับแบบวันชนวัน) และในกรณีที่ขายหน่วยลงทุน Thai ESGX ก่อนครบกำหนดเวลา ผู้ลงทุนจะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นและมีเบี้ยปรับตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในกรณีที่มีกำไรจากการขายหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนก็จะต้องนำกำไรนั้นมาคำนวณภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ทางภาษีอีกด้วย
คำถามนี้อาจต้องย้อนกลับไปที่จุดตั้งต้นในการลงทุน LTF ของแต่ละว่าบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนแล้วหรือไม่ อาทิ ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่คุณกำลังจะเกษียณก่อนปี 2572 ซึ่งจะไม่มีความจำเป็นในการใช้เครื่องมือลดหย่อนภาษีแล้ว การขาย LTF ที่ครบกำหนด หรือสับเปลี่ยน LTF ไปยังกองทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าก็ดูเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าการสับเปลี่ยน LTF มาเป็น Thai ESGX ที่มีระยะเวลาการถือครอง 5 ปี
แต่สำหรับคนวัยทำงานที่ยังต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เกษียณก่อนปี 2572 การสับเปลี่ยน LTF มาเป็น Thai ESGX ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี แต่อาจจะต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบ อาทิ
ท้ายที่สุดคือ วงเงินส่วนเกินสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพราะในกรณีที่ผู้ลงทุนมีเงินลงทุน LTF มากกว่า 500,000 บาท ส่วนที่เกิน 500,000 บาท จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่จะต้องสับเปลี่ยน LTF มาเป็น Thai ESGX ทั้งหมด และถือครองหน่วยลงทุนตามระยะเวลาที่กำหนด
ดังนั้นการสับเปลี่ยน LTF มาเป็น Thai ESGX จึงควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้อย่างรอบคอบ รวมถึงควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน ขณะเดียวกันก็ควรพิจารณาผลการดำเนินงานของ Thai ESG ที่มีอยู่เดิม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้