การวิจัยใหม่ระบุว่าอุณหภูมิที่สูงในประเทศออสเตรเลียส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่รวมถึงการทำงานของผู้คน และเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแย่ลงกว่าเดิม
ข่าวสารวิทยาการ ความก้าวหน้าในวงการวิทยาศาสตร์ ที่อัปเดตการใช้ชีวิตของคุณ
การวิจัยใหม่ระบุว่าอุณหภูมิที่สูงในประเทศออสเตรเลียส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่รวมถึงการทำงานของผู้คน และเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแย่ลงกว่าเดิม
ทีมนักวิจัยจับภาพ 'หมึกยักษ์โคลอสซัล' ใต้ทะเลลึกได้เป็นครั้งแรก โดยทีมวิจัยนานาชาติด้วยยานสำรวจใต้น้ำควบคุมระยะไกล ณ มหาสมุทรแอตแลนติกใต้
โครงการกลุ่มดาวเทียมอวกาศ Polarimeter to Unify the Corona and Heliosphere (PUNCH) ได้ส่งภาพชุดแรกกลับมายังโลกแล้วครับ หลังจากปล่อยขึ้นสู่วงโคจรขั้วโลกไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายของภารกิจคือตรวจสอบชั้นโคโรนา ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์เปลี่ยนผ่านเป็นลมสุริยะได้อย่างไร และนี่เองเป็นสาเหตุที่เราสามารถเห็นแสงเหนือหรือ Aurora บนโลก สำหรับ PUNCH ไม่ได้เป็นดาวเทียมเพียงดวงเดียวนะครับ แต่ประกอบไปด้วยดาวเทียมขนาดเล็ก 4 ดวง เพื่อสร้างการตรวจจับทางสภาพอากาศในอวกาศครอบคลุมพื้นที่ 8,000 ไมล์ (ประมาณ 12,875
ทีมนักวิจัยค้นพบ ‘จิงโจ้ต้นไม้สายพันธุ์หายาก’ ในป่าฝนประเทศออสเตรเลียโดยบังเอิญ จากโดรนตรวจจับความร้อนที่สามารถตรวจจับอุณหภูมิของสัตว์ได้อย่างแม่นยำแม้จะซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ก็ตาม เอ็มเมลิน นอร์ริส (Emmeline Norris) หัวหน้าทีมนักวิจัยเผยว่า เดิมทีการศึกษาครั้งนี้ทีมได้ตั้งใจออกค้นหา ‘Flying foxes’ ค้างคาวขนาดใหญ่ในสกุล Pteropus ซึ่งเป็นหนึ่งในค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่โดรนตรวจจับความร้อนที่ใช้งานอยู่กลับตรวจจับจิงโจ้ต้นไม้ได้แทนอย่างรวดเร็ว จากความร้อนของร่างกายของมันใต้เรือนยอดต้นไม้ในป่าฝน จากรายงานของ Mongabay สิ่งที่นักวิจัยทีมนี้ค้นพบเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมากทีเดียวครับ เพราะสิ่งที่โดรนตรวจจับได้ก็คือ ‘จิงโจ้ต้นไม้เบนเนตต์’ (Bennett’s tree kangaroo) ซึ่งพบเห็นได้ยากมากในป่า แถมจิงโจ้ต้นไม้เบนเนตต์เองยังไม่มีการสำรวจประชากรของพวกมันมานานหลายปีแล้วอีกด้วย ทำให้ไม่มีใครรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้มากนัก ทั้งจำนวนประชากร วงจรชีวิต
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซาก้าประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกในการสร้าง "ตับขนาดจิ๋ว" จากเซลล์ต้นกำเนิดชนิด iPS ของมนุษย์ทีมวิจัยเปิดเผยว่าตับขนาดจิ๋วที่เรียกว่า liver organoids ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับตับของทารกแรกเกิด และมีแนวโน้มว่าจะสามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายได้ในอนาคต
ข่าวดีสำหรับคนที่สูญเสียฟัน ในอนาคตเราจะมีทางเลือกใหม่ เพาะฟันในห้องแล็บทดแทนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การอุดฟันไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการซ่อมแซมฟัน เพราะสารที่ใช้มีอายุการใช้งานที่จำกัด เมื่อเวลาผ่านไปการอุดฟันจะทำให้โครงสร้างฟันอ่อนแอลง อาจทำให้เสียวฟันมากขึ้นหรือเกิดฟันผุ ส่วนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมเป็นการรักษาแบบถาวร มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามกาลเวลา ซึ่งบางคนผ่าตัดฝังไปแล้วอาจเกิดปัญหารากฟันเทียมไม่เข้ากับขากรรไกร ปกติแล้วฟันของสัตว์บางประเภทอย่างฉลามและช้างจะสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ ต่างจากมนุษย์ที่มีฟันแท้แค่เพียงชุดเดียว การทำให้ฟันมนุษย์งอกใหม่ได้ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในวงการทันตกรรม หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามเพาะฟันในห้องแล็บมานานกว่าทศวรรษ ตอนนี้มหาวิทยาลัย King’s College London ได้ประสบความสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ด้วยนำเซลล์ของคนไข้มาเพาะในห้องแล็บ ทีมนักวิจัยจาก King’s College London ได้ร่วมมือกับ Imperial College London พัฒนาวัสดุชนิดพิเศษที่ช่วยให้เซลล์สามารถสื่อสารกันได้เพื่อให้กลายเป็นเซลล์ฟัน
นักดาราศาสตร์ค้นพบหลักฐานสัญญาณของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ K2-18b ที่ห่างออกไป 124 ปีแสง มีชั้นบรรยากาศปกคลุมด้วยก๊าซชีวภาพที่สร้างโดยสิ่งมีชีวิต ย้อนกลับไปเมื่อปี 2023 ทีมนักดาราศาสตร์ของเคมบริดจ์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) ของ NASA ส่องดูดาว K2-18b ดาวเคราะห์มีขนาดใหญ่กว่าโลก 2.5 เท่า อยู่ห่างออกไปประมาณ 124 ปีแสง ดาวดวงนี้อยู่ในโซนที่สามารถอยู่อาศัยได้ เนื่องจากโคจรรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางที่เป็นดาวแคระแดงซึ่งมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ค้นพบว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้ประกอบด้วย ก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์ (DMS) ที่บ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิต ก๊าซชนิดนี้ที่พบบนโลกส่วนใหญ่มักเกิดจากแพลงก์ตอนพืชและจุลินทรีย์ในทะเล แต่ในที่สุดผลการตรวจสอบในครั้งนั้นยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดจากสิ่งมีชีวิตจริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องยืนยันด้วยการทดสอบวิธีอื่นแทน โอกาสได้วนกลับมาอีกครั้งเมื่อดาวเคราะห์ K2-18b
ทุกสิ่งในจักรวาลล้วนมีจุดเริ่มต้น และจุดจบ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ได้ถ่ายภาพช่วงเวลาสุดท้ายของดาวยักษ์แดงเอาไว้ได้...
วิศวกรจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ได้พัฒนาเครื่อกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องทั่วไป เพื่อใช้กับทารกแรกเกิดที่มีปัญหาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด งานวิจัยชิ้นนี้ พัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์จอห์น เอ. โรเจอร์ส จากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น เพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วยรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งปกติจะพบ 1 คนต่อเด็กเกิดใหม่ 100 คน การรักษาทั่วไปจะใช้วิธีผ่าตัด ซึ่งหัวใจของเด็กทารกจะซ่อมแซมตัวเองได้ภายใน 7 วัน แต่ระหว่างนี้ จำเป็นจะต้องติดเครื่องกระตุ้นหัวใจไว้ชั่วคราว เนื่องจากร่างกายเด็กยังอ่อนแอ ไม่เหมาะกับการผ่าตัดบ่อย ๆ นั่นทำให้จำเป็นต้องมีเครื่องกระตุ้นหัวใจขนาดเล็ก ที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อฝัง หรือนำเครื่องกระตุ้นหัวใจออกมา เครื่องกระตุ้นหัวใจเล็กที่สุดในโลกนี้ มีขนาดเท่าเม็ดข้าว
ปกติแล้วเพศชายจะมีตัวเลือกในการคุมกำเนิดอยู่ 2 แบบ คือ การสวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์หรือทำหมันชายด้วยการตัดและผูกท่อน้ำอสุจิ แต่การแก้หมันให้กลับมามีลูกได้ก็มีค่าใช้จ่ายสูงและมีโอกาสที่จะไม่ได้ผล ตรงกันข้ามกับฝ่ายหญิงที่มีตัวเลือก ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรับประทานเพิ่มเข้ามา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่ากันมาก อยากมีลูกเมื่อไหร่แค่หยุดทานยา เหล่านักวิทยาศาสตร์เองก็พยายามคิดค้นทั้งยาเม็ด เจล และยาฉีดสำหรับผู้ชายเพื่อช่วยคุมกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1950 แต่ก็ไม่มียาตัวไหนเลยที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากทดสอบมาหลายทศวรรษ ตอนนี้ยาคุมกำเนิดสำหรับหนุ่ม ๆ ใกล้เป็นจริงแล้ว เมื่อยาเม็ด YCT-529 ประสบความสำเร็จในหนูทดลอง ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 99% เรียกว่าประสิทธิภาพพอ ๆ กับยาเม็ดคุมกำเนิดที่สาว ๆ ทาน YCT-529