นับเป็นก้าวสำคัญของการแพทย์ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ตรวจเลือดเพื่อตรวจหาโรคอัลไซเมอร์เป็นครั้งแรก ช่วยให้วินิจฉัยอาการระยะเริ่มต้นได้รวดเร็วขึ้น
ตอนนี้แนวโน้มคนทั่วโลกป่วยเป็นอัลไซเมอร์มากขึ้นเรื่อยๆ แซงหน้าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากรวมกันซะอีก ปัจจุบันประชากรกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคนี้ถึง 10% ซึ่งในปี 2050 ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว แม้แพทย์พยายามค้นหาวิธีรักษา แต่ก็ทำได้แค่การชะลอความเสื่อมถอยของสมองเท่านั้น นั่นหมายความว่า ยิ่งคัดกรองอาการได้เร็ว รักษาได้ไวก็ทำให้อาการเสื่อมของสมองเกิดขึ้นช้าลง
เดิมทีนั้นแพทย์จะใช้วิธีการวินิจฉัยด้วยคราบโปรตีนอะไมลอยด์ ซึ่งจะใช้การตรวจผ่านการสแกนสมองด้วยเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) ซึ่งก็มีข้อเสียที่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพงและต้องมีการฉายรังสีควบคู่ไปด้วย
นั่นจึงเกิดความพยายามในการคัดกรองผู้ป่วยคือ การตรวจเลือด ด้วยเครื่องมือ Lumipulse G pTau217/ß-Amyloid พัฒนาขึ้นโดย Fujirebio Diagnostics เน้นไปที่การตรวจหาการสะสมของคราบโปรตีนอะไมลอยด์ ซึ่งเป็นสัญญาณในระยะเริ่มต้นในผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งการทดสอบตัวอย่างเลือดนี้จะตรวจหาโปรตีน 2 ชนิด คือ pTau217 และ β-amyloid 1-42 เพื่อช่วยสามารถระบุได้ว่ามีคราบโปรตีนอะไมลอยด์ในสมองหรือไม่
ผลการทดสอบทางคลินิกพบว่า
แม้ว่าจะไม่ได้แม่นยำ 100% แต่ก็โอกาสที่ได้ผลบวกลวง/ผลลบลวง ซึ่ง FDA มองว่า เป้าหมายของเครื่องมือนี้ช่วยลดการใช้การตรวจด้วยวิธีที่รุกราน รวมถึงใช้ควบคู่กับการวินิจฉัยแบบอื่น เพื่อช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นของโรคได้ดีขึ้น
ที่มา newatlas