Mark Zuckerberg ปฏิเสธเรื่องให้โฆษณาหลอกลวงขึ้นระบบเพราะกลัวเสียรายได้ พบเป็นแก๊งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มีรายงานว่า Meta อนุมัติโฆษณาปลอมนับพันบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของตนเช่น Facebook โดยเลือกที่จะให้ผ่านโฆษณาปลอมเนื่องจากบริษัทกลัวว่าจะสูญเสียรายได้ไป อย่างไรก็ตาม มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอของบริษัทแม่อย่าง Meta ได้ออกมาปฏิเสธว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง

Wall Street Journal รายงานว่า Meta อนุญาตให้โฆษณาปลอมหรือโฆษณาหลอกลวงจำนวนมากปรากฏบนแพลตฟอร์มของตน ทำให้เกิดการฉ้อโกงมากมาย อย่างการโกงธุรกรรมผ่าน Zelle และการหลอกลวงอื่น ๆ เช่น โฆษณาธุรกิจปลอม การแจกของรางวัลปลอมจาก McCormick เป็นต้น อันที่จริงเรื่องโกงผ่านแพลตฟอร์มของ Meta นั้นก็มีมาอย่างยาวนานแล้ว แต่มีมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั้ง ๆ ที่ตัวบริษัทเองก็ยืนยันว่ามีการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ตลอด

ตัวอย่างที่ชัดเจนอย่าง Guzman ที่มีโฆษณาปลอมโปรโมตลดราคาสินค้าเมื่อสั่งสินค้าจำนวนมาก ซึ่ง Guzman ต้องชี้แจงกับผู้คนทั่วไปว่ากำลังถูกหลอก Guzman ไม่ได้จำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วยซ้ำ

โฆษกของ Meta บอกกับสื่อว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โฆษณาแบบหลอกลวงมีจำนวนมากขึ้น และมีความซับซ้อนมากขึ้น เกิดจากเครือข่ายอาชญากรข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม อดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบันบอกกับ Wall Street Journal ว่า Meta มีความลังเลและกฏที่ไม่เข้มงวดพอสำหรับโฆษณา เช่น โฆษณานั้นจะต้องได้รับการรายงานระหว่าง 8-32 ครั้ง จึงจะถูกแบน แต่หากได้รับการเตือนจากพนักงานของ Meta โดยตรง จะลดลงเหลือ 4-16 ครั้ง ทำให้การปราบปรามการโกงนั้นไม่ได้ผลอย่างจริงจัง โดย Meta มีรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น 22% เมื่อปีที่แล้ว หรือคิดเป็นเงินมากกว่า 160,000 ล้านเหรียญ

อย่างไรก็ตาม Meta ปฏิเสธว่าไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องเงินมากกว่าความปลอดภัย บริษัทระบุว่า บัญชีกว่า 85% ที่ถูกลบหรือแบนเนื่องจากละเมิดนโยบายของจะไม่ได้มีการรับเงินมาแม้แต่เหรียญเดียว และอีก 70% ที่ถูกลบหรือแบนเนื่องจากละเมิดนโยบายของแพลตฟอร์มจะถูกลบหรือแบนภายใน 1 สัปดาห์หลังจากสร้างบัญชี และหลายบัญชีก็ถูกลบภายในวันที่สร้างเลย

แหล่งสำคัญของเครือข่ายอาชญากรรมทางไซเบอร์อยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเด็นเรื่องการค้ามนุษย์ด้วย โดยบริษัทระบุว่าเฉพาะปีนี้ Meta ได้ปิดบัญชีที่เชื่อมโยงกับแก๊งหลอกลวงในพม่า ลาว กัมพูชา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฟิลิปปินส์ไปแล้วกว่า 2 ล้านบัญชี

นอกจากนี้ แหล่งที่มายังระบุว่า Meta ใช้กฎหมาย Section 230 เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบต่อเนื้อหาหลอกลวงหรือการบังคับใช้นโยบายที่ไม่เข้มงวด ซึ่งทำให้เหยื่อที่รับเคราะห์จะไม่ได้รับการชดเชยจากการหลอกลวงที่เกิดขึ้น

ที่มา NY Post

Advertisement

Sidebar Search
Popular Now
Loading

Signing-in 3 seconds...

Signing-up 3 seconds...