รายงาน Whitepaper ใหม่ เผยผู้ผลิตไทยเพียง 2% ก้าวสู่ Industry 4.0 เต็มรูปแบบ ‘ข้อมูล’ คืออุปสรรคหลักในการใช้ AI

CEEi TeamPR NewsTech & Innovation3 weeks ago18 Views

THE SUMMARY:

รายงาน Whitepaper ล่าสุดที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) (ETDA) และ SAP เผยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการภาคการผลิตในไทยเพียง 2% เท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนผ่านสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม 4.0 ได้เต็มรูปแบบ และข้อมูล คืออุปสรรคหลักในการนำ AI ไปใช้

รายงาน Whitepaper ที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) (ETDA) ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และ SAP ผู้นำตลาดด้านซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร ได้ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบัน มีผู้ประกอบการภาคการผลิตในประเทศไทยแค่ 2% เท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนผ่านสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งที่ศักยภาพในการนำ AI มาใช้ในประเทศไทย สามารถขยายได้มากถึง 300 Use Case ในภาคการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ไทยได้เป็นผู้นำในระดับภูมิภาค

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กล่าวว่า ข้อมูลเชิงลึกที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการนำ AI มาใช้ในภาคการผลิต ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ โดยเฉพาะในด้านการกำกับดูแล AI ทั้งนี้ ความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอย่าง SAP สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจไทยได้รับประโยชน์จากนวัตกรรม AI อย่างเต็มที่

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)

ดร. สลิลธร ทองมีนสุข นักวิชาการอาวุโส TDRI กล่าวว่า AI มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมนวัตกรรม และทำให้เกิดการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ รวมถึงช่วยสนับสนุนเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทย หากมีการนำ AI มาใช้อย่างแพร่หลายในภาคการผลิต ประเทศไทยจะสามารถสร้างฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศในการเป็นเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นและแข่งขันได้ในเวทีโลก

ดร. สลิลธร ทองมีนสุข นักวิชาการอาวุโส TDRI

AI มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตในไทย

การนำ AI มาใช้ในบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าภาพรวมของภาคธุรกิจไทยในปัจจุบัน จะมีการนำ AI มาใช้เพียง 18% แต่คาดว่าภาคการผลิต จะมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 60% ภายในปี พ.ศ. 2568

โดยธุรกิจการผลิต จะได้รับประโยชน์อย่างมากจาก AI และคาดว่า AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์ความต้องการ เพื่อลดการสูญเสียยอดขายได้ 65% เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ 20% ผ่านระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมที่เสริมด้วย AI ลดเวลาหยุดทำงานของเครื่องจักรได้ 20% ผ่านการบำรุงรักษาที่ผ่านการคาดการณ์ไว้ก่อน และลดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในสถานที่ทำงานได้ถึง 90%

‘ข้อมูล’ คือปัญหาในการนำ AI มาใช้สำหรับภาคการผลิต

แม้ว่าองค์กรในไทยจำนวนมากถึง 73% มีแผนจะนำ AI มาประยุกต์ใช้ แต่ยังคงต้องเจอกับความท้าทายหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต ปัญหาด้านข้อมูลถือเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยพบว่า 65% ขององค์กรการผลิต มีความกังวลเรื่องคุณภาพของข้อมูล และในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ 65% ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอส่งผลกระทบต่อการนำ AI มาใช้งาน

กุลวิภา ปิยวัฒนเมธา กรรมการผู้จัดการ SAP ประเทศไทย กล่าวว่า การสร้าง Business AI ที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่มีคุณภาพ SAP มีลูกค้าที่ใช้งาน SAP Business AI มากกว่า 34,000 รายทั่วโลก รวมถึงในเอเชียหลายพันราย ซึ่งได้รับประโยชน์จากการนำ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์, การตัดสินใจอัตโนมัติ, การพยากรณ์ที่แม่นยำขึ้น และประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น SAP ได้เน้นย้ำถึงการใช้ Business AI ที่เกี่ยวข้อง, เชื่อถือได้, และมีความรับผิดชอบ โดยเชื่อมโยงกับความเข้าใจทางธุรกิจ และข้อมูลที่ครอบคลุม เพื่อให้องค์กรสามารถวางใจในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, ความปลอดภัย, และการปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

กุลวิภา ปิยวัฒนเมธา กรรมการผู้จัดการ SAP ประเทศไทย

กรอบนโยบายเพื่อส่งเสริมการเติบโต

รายงาน Whitepaper ดังกล่าว ยังได้เสนอแนะแนวทางเชิงนโยบาย เพื่อสนับสนุนการนำ AI มาใช้ ทั้งในระดับองค์กรและระดับเศรษฐกิจ ข้อเสนอแนะสำคัญ รวมถึงการจัดตั้งกรอบการกำกับดูแล AI เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น, การปรับปรุงข้อกำหนดทางกฎหมาย เพื่อลดความไม่ชัดเจนในการใช้งาน AI, และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนผ่านคณะอนุกรรมการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ดร. สลิลธร ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การสร้างระบบนิเวศ AI ที่เข้มแข็งในไทย จำเป็นต้องเริ่มจากการวางยุทธศาสตร์ด้านการกำกับดูแล AI, การทบทวนมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ, การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน, และการส่งเสริมการทำงานร่วมกันในระดับสากล โดยภาคธุรกิจควรได้รับคำปรึกษาเพื่อเลือกใช้โซลูชัน AI ที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อให้มั่นใจถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่ดี การดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำ AI มาใช้ในภาคการผลิต และส่งเสริมการเติบโตได้ในระยะยาว

กุลวิภา กล่าวสรุปว่า ด้วยความร่วมมือและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ รวมถึง SAP จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ และด้วยนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะสามารถสร้างการเติบโต และความเจริญรุ่งเรือง ไม่ใช่แค่ในภาคการผลิต แต่รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย

See Culture. Spark Innovation. Illuminate the Future.

Advertisement

Sidebar Search
Popular Now
Loading

Signing-in 3 seconds...

Signing-up 3 seconds...