อย่าส่งอีโมจิ ‘หน้ายิ้ม’ หากคุยกับคน Gen Z กับเหตุผลทำไมพวกเขาถึงเกลียดมัน !?

ช่วงว่างระหว่างวัยอาจทำให้คนแต่ละเจนมีมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน อย่างเรื่องใกล้ตัวโดยเฉพาะ ‘อีโมจิ’ ซึ่งพบว่าคน Gen Z มองว่า ‘อีโมจิหน้ายิ้ม 🙂’ ไม่ได้บ่งบอกถึงความสุขแต่เป็นในแบบเชิงลบเสียมากกว่า…

โดยคนที่เกิดระหว่างปี 1997-20 หรือ Gen Z มองอีโมจิหน้ายิ้มนั่นไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่เป็นในความหมายเชิงประชดประชัน เช่นเดียวกับอีโมจินิ้วโป้ง 👍 ที่คนยุคก่อนอาจใช้เพื่อแสดงการยอมรับ หรือ “ทำได้ดีมาก” แต่กับ Gen Z กลับไม่ได้มองอย่างนั้น

ความหมายของอีโมจิหน้ายิ้มไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เพราะประเด็นนี้ถูกนำมาเสนอโดยสื่ออยู่บ่อยครั้ง อย่างในปี 2021 หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมกับสัมภาษณ์คน Gen Z อีกด้วย

เฮลีย์ ฟรานซิสโก (Hailey Francisco) วัยรุ่นอายุ 18 ปี ในขณะนั้นได้ให้สัมภาษณ์ว่าเธอ และทีมทีมเชียร์ลีดเดอร์มักได้รับอีโมจิหน้ายิ้มที่ดูขนลุก 🙂 จากโค้ชของพวกเธออยู่เสมอ จนกระทั้่งทั้งทีมไปดูแข่งบาสเกตบอลด้วยกัน และมีคนไปบอกกับโค้ชตรง ๆ ว่าอีโมจินั้นดูเหมือนประชดประชัน ซึ่งทำให้โค้ชของพวกเธอถึงกับตกใจไปเลย

ฮาฟีซัต บีชิ (Hafeezat Bishi) วัย 21 ปี ยังให้สัมภาษณ์เช่นกันว่า ตัวเธอเองรู้สึกตกใจทุกครั้งเมื่อเพื่อนร่วมงานของเธอทักมาด้วยข้อความอีโมจิหน้ายิ้ม 🙂 ช่วงที่เธอเริ่มฝึกงาน เธอยังกล่าวว่าต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าเขาอายุมากกว่า และอาจตีความหมายพวกนั้นแตกต่างจากตัวเอง เพราะตัวเธอเองมักใช้มันในแบบประชดประชันเสียมากกว่า

อีโมจิถูกเปิดตัวครั้งแรกโดย Apple ในปี 2008 ก่อนจะเป็นที่รู้จักมากขึ้นในปี 2011 เป็นต้นมา ในขณะที่ฝั่ง Android นำมาใช้ในปี 2013 ตั้งแต่นั้นก็มีอีโมจิเพิ่มขึ้นมากมาย จนปัจจุบันมาให้ใช้กันเกือบ 4,000 แบบ กันแล้ว

นอกจากอีโมจิหน้ายิ้ม 🙂 แล้ว ยังมีอีโมจิตัวอื่น ๆ ที่คน Gen Z ตีความหมายในแบบเฉพาะของตัวเอง เช่น อีโมจิกระโหลก 💀 อาจสื่อว่า “ขำตายเลย” อีโมจิไฟลุก 🔥 ใช้แทนคำว่า “เจ๋งมาก” หรือ “สุดยอด” และยังมีการใช้อีโมจิในเชิงจีบกัน อย่าง อีโมจิผี 👻 หรืออีโมจิปิศาจยิ้ม 😈 อีกด้วย

ที่มา: Parents

'ช่างภาพ' ที่เขียนคอนเทนต์ได้ หาเงินซื้อเปียกให้แมว 3 ตัว ที่บ้าน

Advertisement

Sidebar Search
Popular Now
Loading

Signing-in 3 seconds...

Signing-up 3 seconds...