Health2- Page

Health

24Articles

Health2 weeks ago

วิถีชีวิตของหลายคนอาจจะเป็นการนั่งทำงานนาน ๆ แล้วค่อยออกไปยืดเส้นยืดสาย ไปออกกำลังกาย ซึ่งดูเหมือนว่าวิธีการนี้น่าจะเพียงพอแล้วที่ทำให้เราสามารถชดเชยการนั่งทำงานทั้งวันได้ แต่เรื่องนี้อาจไม่ใช่ความจริงแบบที่เรากำลังรู้สึก

Blood test

Health3 weeks ago

นับเป็นก้าวสำคัญของการแพทย์ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ตรวจเลือดเพื่อตรวจหาโรคอัลไซเมอร์เป็นครั้งแรก ช่วยให้วินิจฉัยอาการระยะเริ่มต้นได้รวดเร็วขึ้น ตอนนี้แนวโน้มคนทั่วโลกป่วยเป็นอัลไซเมอร์มากขึ้นเรื่อยๆ แซงหน้าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากรวมกันซะอีก ปัจจุบันประชากรกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคนี้ถึง 10% ซึ่งในปี 2050 ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว แม้แพทย์พยายามค้นหาวิธีรักษา แต่ก็ทำได้แค่การชะลอความเสื่อมถอยของสมองเท่านั้น นั่นหมายความว่า ยิ่งคัดกรองอาการได้เร็ว รักษาได้ไวก็ทำให้อาการเสื่อมของสมองเกิดขึ้นช้าลง เดิมทีนั้นแพทย์จะใช้วิธีการวินิจฉัยด้วยคราบโปรตีนอะไมลอยด์ ซึ่งจะใช้การตรวจผ่านการสแกนสมองด้วยเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) ซึ่งก็มีข้อเสียที่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพงและต้องมีการฉายรังสีควบคู่ไปด้วย นั่นจึงเกิดความพยายามในการคัดกรองผู้ป่วยคือ การตรวจเลือด

Dropped Head Syndrome

Health3 weeks ago

กลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ของญี่ปุ่น เมื่อชายคนหนึ่งถูกวินิจฉัยว่ามีอาการคอตก กระดูกผิดรูปจนไม่สามารถเงยหน้าได้ เหตุเกิดจากก้มหน้าเล่นมือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน ทาง ScienceDirect รายงานว่าพบชายญี่ปุ่นอายุแค่ 25 ปี มีอาการคอตก (Dropped Head Syndrome; DHS) จนไม่สามารถเงยหน้าขึ้นมาได้ โดยทั่วไปอาการคอตกนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่ในเคสนี้เกิดจากกระดูกต้นคอผิดรูป เนื่องจากก้มหน้าเล่นมือถือเป็นเวลานาน ส่งผลให้ศีรษะอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติจนทำให้กระดูกผิดรูป ก่อนที่จะเข้ามาพบแพทย์ หนุ่มญี่ปุ่นรายนี้เริ่มมีอาการปวดคออย่างรุนแรง กลืนอาหารบาก ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นมีก้อนเนื้อขนาดใหญ่นูนขึ้นที่ด้านหลังคอของเขา ตามด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถพยุงศีรษะให้เงยขึ้นได้ หลังจากที่เข้าเครื่อง MRI ก็พบว่า กระดูกสันหลังส่วนคอของเขาได้รับความเสียหาย เคลื่อนออกจากตำแหน่ง รวมถึงเนื้อเยื่อเกิดแผลเป็นเนื่องจากการยืดมากเกินไป

Hailie Smartinhaler

Health3 weeks ago

Adherium พัฒนา Hailie Smartinhaler ที่ครอบขวดยาพ่นหอบหืดอัจฉริยะ ช่วยติดตามการใช้ยา แนะใช้ยาให้ถูกวิธี พร้อมแจ้งเตือนเมื่อลืมพ่น ปัจจุบันคนที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดนั้นจะมีอยู่ราวๆ 29% ของประชากรทั้งโลก ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีอาการหายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ แน่นหน้าอก และไอ แถมมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิต หากไม่ได้ควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไม่ทานยาอย่างสม่ำเสมอ หรือฉีดยาพ่นไม่ถูกวิธีทำให้ตัวยาเข้าสู่ปอดในปริมาณที่ไม่เพียงพอ หากใช้ยาเกินขนาดก็จะมีผลข้างเคียงตามมา เช่น ใจสั่น ปวดหัว ในกรณีที่พ่นยาซ้ำ ๆ บ่อยเกินความจำเป็น จะทำให้สมรรถภาพของปอดลดลงเรื่อยๆ รวมถึงอาจกเกิดหลอดลมเสื่อมอย่างถาวรได้  เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ทาง

AI1 month ago

ในยุคที่ระบบสาธารณสุขเผชิญปัญหาคิวยาวและค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ผู้คนจำนวนมากหันไปพึ่งแชตบอต AI อย่าง ChatGPT เพื่อวินิจฉัยอาการป่วยด้วยตนเอง ผลสำรวจล่าสุดเผยว่า 1 ใน 6 ของผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ใช้แชตบอตเพื่อขอคำแนะนำด้านสุขภาพอย่างน้อยเดือนละครั้ง แต่การพึ่งพา AI มากเกินไปอาจนำมาซึ่งความเสี่ยง ผลการศึกษาจากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดชี้ว่า ผู้ใช้มักประสบปัญหาในการสื่อสารกับแชตบอต ทำให้ได้คำแนะนำที่ไม่แม่นยำ

pTACS

Health1 month ago

ทีมนักวิจัยจาก Husker นำโดยสตีเวน บาร์โลว์ จดสิทธิบัตร  pTACS อุปกรณ์ที่ใช้ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบพกพา เพื่อใช้งานในคลินิก ห้องฉุกเฉิน รวมถึงรถพยาบาลได้ ตอนนี้โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ ของโลก แซงหน้าโรคประเภทอื่นๆแล้ว ผู้ใหญ่ 1 ใน 4 คนทั่วโลกจะพบโรคหลอดเลือดสมอง เฉพาะในสหรัฐฯ พบผู้ป่วยปีละมากกว่า 795,000 คน หากเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการได้ pTACS มีขนาดกะทัดรัด พกพาง่าย ประกอบด้วยตัวควบคุมลม “อัจฉริยะ” ทำงานคู่กับไมโครโปรเซสเซอร์บรรจุอยู่ในกล่องสีดำขนาดเล็ก

Health1 month ago

การเช็คสมาร์ตโฟนก่อนนอนน่าจะเป็นกิจกรรมที่หลาย ๆ คนเลือกทำโดยเฉพาะในหมู่เด็กและวัยรุ่น แต่หากคุณเป็นคนที่นอนยากแล้วล่ะก็ อาจจะต้องใช้สมาร์ตโฟนก่อนนอนให้น้อยลงเพื่อมการศึกษาชี้ว่าการมองจอในช่วงเวลาก่อนนอนทำให้เกิดปัญหานอนหลับยากขึ้นกว่าเดิม

Health2 months ago

ทีมนักวิจัยจากจีนรายงานความสำเร็จครั้งสำคัญในวงการแพทย์ หลังสามารถปลูกถ่ายตับจากหมูที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยตับดังกล่าวถูกปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่เสียชีวิตทางสมองเมื่อปี 2024 และได้ผลลัพธ์ว่าสามารถทำงานในร่างกายมนุษย์ได้เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วันโดยไม่มีอาการปฏิเสธจากระบบภูมิคุ้มกันหรือการอักเสบสะสม โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำ Nature การปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่มนุษย์ หรือ Xenotransplantation กำลังเป็นที่สนใจในวงการแพทย์ทั่วโลก เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน มีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการอวัยวะปลูกถ่ายมากกว่าจำนวนอวัยวะที่สามารถบริจาคได้ โดยมีผู้ป่วยกว่า 100,000 คนในสหรัฐอเมริกาที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ และในจำนวนนั้นกว่า 9,000 คนต้องการตับ ดร. หลิน หวัง หนึ่งในผู้วิจัยจากโรงพยาบาลซีจิง เมืองซีอาน เผยว่าการทดลองนี้เป็นก้าวสำคัญของวงการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยก่อนหน้านี้ มีนักวิจัยที่สามารถปลูกถ่ายไตและหัวใจจากหมูดัดแปลงพันธุกรรมสู่ร่างกายมนุษย์ได้สำเร็จแล้วแต่ยังไม่สามารถทำได้ในตับ เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนสูงและทำหน้าที่หลายอย่าง

Health2 months ago

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจพยายามหาทางเลี่ยงน้ำตาลด้วยการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็น Sugar Free ซึ่งทดแทนด้วยสารให้ความหวานแทนน้ำตาล แต่ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พบว่าสารความหวานแทนน้ำตาลอย่างซูคราโลสอาจส่งผลเสียมากกว่าแค่ลำไส้ แต่มีผลกระทบถึงสมองเลย

Health2 months ago

มะเร็งเป็นโรคที่ใคร ๆ ก็คงกลัว หากมีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ก็น่าปฏิบัติตาม ล่าสุดมีหลักฐานยืนยันว่าเพียงแค่การทานโยเกิร์ตก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิดได้ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่

Advertisement

Sidebar Search
Popular Now
Loading

Signing-in 3 seconds...

Signing-up 3 seconds...