PM 2.5 เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้ภายในระยะเวลาแค่ 3 ปีเท่านั้น

THE SUMMARY:

จากกรณีคุณเอ๋ พรทิพย์ พบมะเร็งปอดระยะที่ 1 แม้ว่าไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยง แต่แพทย์ระบุว่า PM 2.5 ก็ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้เหมือนกัน เรื่องนี้มีหลักฐานชัดเจนว่าการที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี PM 2.5 ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ภายในระยะเวลา 3 ปีเท่านั้น

งานวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งกว่า 33,000 รายพบว่าการได้รับมลพิษที่มีความเข้มข้นสูงมีความเกี่ยวพันกับอัตราการเป็นโรคมะเร็งปอดชนิดที่เกี่ยวข้องกับรีเซปเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง (EGFR) ซึ่งมักพบในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่หรือสูบบุหรี่ไม่หนักมาก ซึ่ง ชาร์ลส์ สวอนตัน (Charles Swanton) นักวิจัยด้านมะเร็งจากสถาบันฟรานซิส คริกในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า โดยปกติเมื่อเราอายุเยอะขึ้นก็จะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่โดยปกติแล้ว เซลล์เหล่านี้จะไม่ได้ทำตื่นขึ้นมา

เป็นที่ชัดเจนว่ามลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยกระตุ้นเซลล์มะเร็ง ทำให้เติบโตจนเป็นเนื้องอกได้

ชาร์ลส์ สวอนตัน

PM 2.5 ส่งผลให้เป็นมะเร็งปอดได้ยังไง?

  1. PM 2.5 จะกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดความเสียหายต่อ DNA และการอักเสบเรื้อรังในเนื้อเยื่อปอด
  2. PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการกลายพันธุ์ในยีน EGFR และ TP53 ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วย LCNS โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก
  3. PM2.5 กระตุ้นการทำงานของ EGFR และรีเซปเตอร์ AhR ส่งผลให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตเร็วขึ้นและดื้อต่อยา EGFR-TKI
  4. PM2.5 กระตุ้นการผลิต IL-1β และ IL-18 ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นและส่งเสริมการอักเสบ

ตามผลการวิจัย อุบัติการณ์ของมะเร็งปอด EGFR ชนิดกลายพันธุ์ จะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีการสัมผัสกับ PM2.5 เพิ่มขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วม 407,509 คนใน UK Biobank ยันยันว่า PM 2.5 มีผลต่อการเป็นมะเร็งจริง ยังมีข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ไม่สูบบุหรี่ 228 คนในแคนาดาชี้ชัดว่า หลังจากสัมผัสกับ PM2.5 ในระดับสูงเป็นเวลา 3 ปี ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด EGFR เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 73

ผู้ทำวิจัยได้ใช้หนูทดลองที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR จะพัฒนากลายเป็นมะเร็งเร็วขึ้นเมื่อสัมผัส PM2.5 แต่พอให้ยาต้าน interleukin-1 (IL-1) กับหนู การเกิดมะเร็งจะลดลงชัดเจน (IL-1 คือ ตัวควบคุมการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการอักเสบ)

อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยระบุว่าการทดลองดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอยู่ โดย หนูทดลองมีแนวโน้มจะเกิดมะเร็งอยู่แล้ว อาจพัฒนาเนื้องอกได้แม้ไม่ได้สัมผัสกับ PM2.5 และกลุ่มตัวอย่างนี้อาจไม่แสดงการกลายพันธุ์ที่หลากหลายเท่าที่พบในเนื้อเยื่อของหนูโตเต็มวัย อย่างไรก็ตาม การทดสอบนร่ได้เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาการเจริญเติบโตของเนื้องอกในระยะเริ่มต้นภายใต้การมีปัจจัยควบคมได้

ที่มา ScienceAlert

Advertisement

Sidebar Search
Popular Now
Loading

Signing-in 3 seconds...

Signing-up 3 seconds...