เริ่มเดินสายการผลิตอย่างเป็นทางการแล้วกับโรงงานฉางอัน (CHANGAN) แห่งแรงนอกประเทศจีน ที่จังหวัดระยองประเทศไทย ชูระบบอัตโนมัติ 90% ลดการใช้พลังงาน พร้อมผลักดันไทยเป็นฐานการผลิต EV พวงมาลัยขวา
โรงงานของฉางอัน (CHANGAN) ถือเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ครบวงจรแห่งแรกนอกประเทศจีน ตั้งที่จังหวัดระยอง บนที่ดินขนาด 250 ไร่ ปั้นไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถ EV พวงมาลัยขวา ผ่านแบรนด์ในเครืออย่าง CHANGAN, Deepal และ Avatr ไปยังภูมิภาคอาเซียนและตลาดรถพวงมาลัยขวาทั่วโลก
ทาง CHANGAN วางแผนที่จะเปิดตัวรถใหม่อีก 12 รุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า มีมูลค่าการลงทุนเฟสแรกนั้นอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ด้วยกำลังผลิตปีละ 100,000 คัน และตั้งเป้าขยายเป็น 200,000 คันในเฟสต่อไป
โรงงานแห่งนี้ชูเทคโนโลยีครบวงจรด้วยการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติถึง 90% เริ่มตั้งแต่กระบวนการเชื่อมประกอบตัวถังหุ่นยนต์ 39 ตัว, กระบวนการพ่นสีที่ใช้หุ่นยนต์ 29 ตัวทำให้งานมีความละเอียดสูงเพื่อให้สีบนตัวรถมีความทนทานมากกว่า 10 ปีพร้อมปล่อยมลภาวะได้ถึง 40% จนไปถึงการประกอบเครื่องยนต์ และแบตเตอรี
เสริมการทำงานด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบอัตโนมัติอีก 18 ระบบและแบบกึ่งอัตโนมัติ 125 ระบบ ทำให้สามารถผลิตรถยนต์หลายรุ่นที่ใช้ระบบส่งกำลังต่างกันได้พร้อมกัน ซึ่งทั้งหมดนี้มี ระบบดิจิทัลช่วยให้ดำเนินงานและจัดการผ่านออนไลน์ได้ 100% ช่วยลดเวลาตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงส่งมอบจาก 21 วันเหลือเพียง 15 วันเท่านั้น
นอกจากนั้นตัวโรงงานยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้อุปกรณ์และกระบวนการทำงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ พร้อมติดตั้ง ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 14 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 45% ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในโรงงาน ส่วนต่างๆออกแบบให้ลดการใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็น ระบบระบายอากาศหมุนเวียน, ระแนงระบายความร้อน, การใช้แสงธรรมชาติ, และระบบรีไซเคิลน้ำฝน ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยลดการใช้พลังได้ถึง 20%
ทางฉางอันยังสร้างคลังอะไหล่สำหรับตลาดรถพวงมาลัยขวา ซึ่งจะเก็บชิ้นส่วนได้ถึง 98% เพื่อให้จัดส่งอะไหล่ได้อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังวางแผนอัปเกรดแพลตบริการอัจฉริยะในไทย ด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อบริการไแบบเรียลไทม์ทั้งระบบการควบคุมยานพาหนะอัจฉริยะ, การบำรุงรักษา, การตรวจสอบแบตเตอรี่ และการเช็คสภาพจากระยะไกล เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น
อีกเรื่องที่ฉางอันให้ความสำคัญอย่างมากคือ การสนับสนุนระบบนิเวศการผลิตรถ EV ในไทย เริ่มตั้งแต่ การใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ 40% จากนั้นจะเพิ่มเป็น 80% ในอนาคต ผลักดันการพัฒนาซัพพลายเชน รวมถึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวะทั่วประเทศเพื่อพัฒนาบุคากร ทำให้เกิดจ้างงานเพิ่ม 30,000 ตำแหน่งในเฟสต่อไป