เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี หอดูดาวแห่งแรกใน มิวนิก, เยอรมนี ทาง NASA และพันธมิตรจึงร่วมมือกันสร้างภาพ “Cosmic Cliffs” ซึ่งเป็นภาพที่อันโด่งดังของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) โดยครั้งนี้นำเสนอในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อให้ศึกษาได้อย่างลึกซึ่งยิ่งขึ้น !
สำหรับภาพสุดน่าทึ่งใบนี้เป็นภาพของเนบิวลากระดูกงูเรือ (Carina Nebula) ในอีกชื่อเล่นว่า ‘Cosmic Cliffs’ หรือหน้าผาจักรวาล ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ ๆ ที่เต็มไปด้วยกลุ่มก๊าซ และฝุ่นละออง ซึ่งภาพนี้ยังเป็น 1 ใน 5 ภาพแรกของกล้องเจมส์ เวบบ์ที่เผยแพร่ออกมาในเดือนกรกฎาคม 2022 และเป็น 1 ในภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดจากกล้องตัวนี้ก็ว่าได้
ด้วยความช่วยเหลือของเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้าง และประมวลผลภาพจาก Space Telescope Science Institute (STScI), Caltech/IPAC และผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการ AstroViz ของ Universe of Learning จาก NASA ภาพ Cosmic Cliffs จึงกลายเป็นเวอร์ชัน 3 มิติ แบบในวิดีโอขึ้นมาได้ครับ
ภูมิทัศน์ของหน้าผาในชื่อ Cosmic Cliffs แท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของเนบิวลา Gum 31 ซึ่งภายในมีกระจุกดาวอายุน้อยที่เรียกว่า ‘NGC 3334’ ซึ่งทางสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (STScI) ได้อธิบายว่า ทั้ง Gum 31 และ NGC 3324 ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่ก่อกำหนดดาวขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันในชื่อ Carina Nebula Complex
ดาวใน NGC 3324 ยังสร้างแสงอัลตราไวโอเลต และลมดาวฤกษ์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากระบวนการกัดเซาะนี้ทำให้เกิด ‘โพรง’ ภายในเนบิวลา Gum 31 โดยส่วนหนึ่งของฟองก๊าซขนาดยักษ์นี้สามารถมองเห็นได้เหนือแนวของ Cosmic Cliffs เลยทีเดียว
ในขณะที่ไอน้ำที่ดูเหมือนหมอกเหนือ Cosmic Cliffs นั้น แท้จริงแล้วก็คือก๊าซที่มีประจุไฟฟ้าอุณหภูมิสูง และฝุ่นที่กำลังพุ่งผ่านอวกาศออกจากเนบิวลาภายใต้การแผ่ขยายของรังสีอัลตราไวโอเลตที่รุนแรง
ซึ่งเรายังสามารถเห็นแสงสีเหลืองสว่างที่ส่วนโค้งของวิดีโอได้อีกด้วยครับ ซึ่งแสงที่เห็นมาจากการไหลออกของสสารดาวฤกษ์อายุน้อยที่กำลังเติบโตขึ้นภายใต้การฝังตัวในบริเวณ Cosmic Cliffs นั่นเอง
นอกจากนี้วิดีโอตัวนี้ยังถูกนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ และท้องฟ้าจำลองเกือบ 200 ทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อให้สาธารณชนได้ศึกษากันอีกด้วย
ที่มา: PetaPixel, Space Telescope Science Institute (YouTube)