งานวิจัยชิ้นใหม่จากประเทศญี่ปุ่นกำลังได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เนื่องจากเป็นการเปิดประตูสู่ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการกำหนดเพศในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อพบว่า “ภาวะขาดธาตุเหล็ก” ในแม่หนูขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ลูกหนูโครโมโซม XY ที่ควรมีอวัยวะเพศชาย พัฒนากลายเป็นอวัยวะเพศหญิง หรือมีลักษณะอวัยวะเพศผสมกัน ขัดกับหลักการเดิมที่เชื่อว่าเพศของสัตว์ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า นำโดยศาสตราจารย์มาโกโตะ ทาจิบานะ (Makoto Tachibana) นักวิทยาศาสตร์ด้านอีพีเจเนติกส์ (Epigenetics) พบว่าเอนไซม์ KDM3A ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นยีน Sry จำเป็นต้องใช้ธาตุเหล็กในการทำงาน โดยยีน Sry นี้คือยีนที่อยู่บนโครโมโซม Y และเป็นตัวกำหนดการพัฒนาของเพศชายในตัวอ่อน จึงเกิดการสันนิษฐานว่าหากแม่หนูขาดธาตุเหล็ก เอนไซม์นี้ก็จะไม่สามารถกระตุ้นยีน